การวิเคราะห์ทางเทคนิค THEOS USD
มาตรวัดนี้แสดงภาพรวมการวิเคราะห์ทางเทคนิค Theos แบบเรียลไทม์สำหรับกรอบเวลาที่คุณเลือก ข้อมูลสรุปของ Theos อิงตามอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุด เช่น Moving Average (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่), Oscillator (ออสซิลเลเตอร์) และ Pivot Point (จุดกลับตัว)
เรตติ้งทางเทคนิคของ Theos
สรุป
เรตติ้งทางเทคนิค: เป็นกลาง
Oscillator
เรตติ้งทางเทคนิค: เป็นกลาง
ชื่อ | ค่า | เรตติ้ง |
---|---|---|
RSI(14) | 50.02 | |
STOCH(9,6) | 45.67 | |
STOCHRSI(14) | 0.4304 | |
MACD(12,26) | 0.{6}1757 | ซื้อ |
ADX(14) | 14.51 | |
Williams %R | -54.3348 | |
CCI(14) | 26.87 | |
ATR(14) | - | - |
Hights/Lows(14) | 0.0001300 | ซื้อ |
Awesome Oscillator(14) | 0.{6}2949 | |
ROC | -1.07949 | ขาย |
Moving Average
เรตติ้งทางเทคนิค: ซื้อ
ชื่อ | ค่า | เรตติ้ง |
---|---|---|
EMA(10) | 0.{4}7790 | ซื้อ |
SMA(10) | 0.{4}7743 | ซื้อ |
EMA(20) | 0.{4}7772 | ซื้อ |
SMA(20) | 0.{4}7801 | ซื้อ |
EMA(30) | 0.{4}7772 | ซื้อ |
SMA(30) | 0.{4}7685 | ซื้อ |
EMA(50) | 0.{4}7896 | ซื้อ |
SMA(50) | 0.{4}7721 | ซื้อ |
EMA(100) | 0.{4}8618 | ขาย |
SMA(10) | 0.{4}8371 | ขาย |
EMA(200) | 0.{4}9576 | ขาย |
SMA(200) | 0.0001069 | ขาย |
IBL | - | |
VWMA | - | |
HMA | 0.{4}7983 | ซื้อ |
Pivot Point
Pivot | Classic | Fibonacci | Camarilla | Woodie | DM |
---|---|---|---|---|---|
S3 | 0.{4}7356 | 0.{4}7562 | 0.{4}7684 | 0.{4}7305 | - |
S2 | 0.{4}7562 | 0.{4}7680 | 0.{4}7713 | 0.{4}7536 | - |
S1 | 0.{4}7666 | 0.{4}7753 | 0.{4}7741 | 0.{4}7615 | 0.{4}7614 |
P | 0.{4}7871 | 0.{4}7871 | 0.{4}7871 | 0.{4}7846 | 0.{4}7845 |
R1 | 0.{4}7975 | 0.{4}7990 | 0.{4}7798 | 0.{4}7924 | 0.{4}7923 |
R2 | 0.{4}8181 | 0.{4}8063 | 0.{4}7826 | 0.{4}8155 | - |
R3 | 0.{4}8285 | 0.{4}8181 | 0.{4}7854 | 0.{4}8234 | - |
เลือกจากประเภทการเทรดที่หลากหลาย
เกี่ยวกับเรตติ้งทางเทคนิค
นิยาม
เรตติ้งทางเทคนิคเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่รวบรวมเรตติ้งของอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคหลายๆ ตัวเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้นักเทรดและนักลงทุนหาจังหวะการเทรดที่ทำกำไรได้ง่ายขึ้น
การคำนวณ
นี่คือเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดเรตติ้งของอินดิเคเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ โปรดทราบว่าจะใช้การเปลี่ยนแปลงจากแท่งเทียนสุดท้ายเพื่อกำหนดสถานะขาขึ้นหรือขาลง:
Moving Average (MA) ทั้งหมด
ซื้อ — ค่า MA < ราคา
ขาย — ค่า MA > ราคา
เป็นกลาง — ค่า MA = ราคา
Ichimoku Cloud
ซื้อ — เส้นฐาน < ราคา, เส้น Conversion ตัดราคาจากด้านล่าง, เส้นนำ 1 > ราคา และเส้นนำ 1 > เส้นนำ 2
ขาย — เส้นฐาน > ราคา, เส้น Conversion ตัดราคาจากด้านบน, เส้นนำ 1 < ราคา และเส้นนำ 1 < เส้นนำ 2
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Relative Strength Index (RSI)
ซื้อ — อินดิเคเตอร์ < 30 และกำลังเพิ่มขึ้น
ขาย — อินดิเคเตอร์ > 70 และกำลังลดลง
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Stochastic
ซื้อ — เส้นหลัก < 20 และเส้นหลักตัดขึ้นเหนือเส้น Signal
ขาย — เส้นหลัก > 80 และเส้นหลักตัดลงใต้เส้น Signal
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Commodity Channel Index (CCI)
ซื้อ — อินดิเคเตอร์ ≤ 100 และกำลังเพิ่มขึ้น
ขาย — อินดิเคเตอร์ > 100 และกำลังลดลง
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Average Directional Index (ADX)
ซื้อ — อินดิเคเตอร์ > 20 และเส้น +DI ตัดขึ้นเหนือเส้น -DI
ขาย — อินดิเคเตอร์ > 20 และเส้น +DI ตัดลงใต้เส้น -DI
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Awesome Oscillator (AO)
ซื้อ — Saucer และค่ามากกว่า 0 หรือตัดขึ้นเหนือเส้นศูนย์
ขาย — Saucer และค่าน้อยกว่า 0 หรือตัดลงใต้เส้นศูนย์
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Momentum
ซื้อ — ค่าอินดิเคเตอร์กำลังเพิ่มขึ้น
ขาย — ค่าอินดิเคเตอร์กำลังลดลง
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
MACD
ซื้อ — ค่าเส้นหลัก > ค่าเส้น Signal
ขาย — ค่าเส้นหลัก < ค่าเส้น Signal
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Stochastic RSI
ซื้อ — เทรนด์ขาลง, เส้น K และ D < 20 และเส้น K ตัดขึ้นเหนือเส้น D
ซื้อ — เทรนด์ขาขึ้น, เส้น K และ D > 80 และเส้น K ตัดลงใต้เส้น D
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Williams Percent Range (Williams %R)
ซื้อ — อินดิเคเตอร์ < แถบล่างและกำลังเพิ่มขึ้น
ขาย — อินดิเคเตอร์ > แถบบนและกำลังลดลง
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Bulls and Bears Power
ซื้อ — เทรนด์ขาขึ้น, Bear Power < 0 และ Bear Power กำลังเพิ่มขึ้น
ขาย — เทรนด์ขาลง, Bull Power > 0 และ Bull Power กำลังลดลง
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
Ultimate Oscillator (UO)
ซื้อ — UO > 70
ขาย — UO < 30
เป็นกลาง — ไม่ซื้อหรือขาย
ค่าของเรตติ้ง “ขาย” คือ -1, เรตติ้ง “เป็นกลาง” คือ 0 และเรตติ้ง “ซื้อ” คือ 1 โดยเรตติ้งแบบกลุ่มและโดยรวมจะคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของเรตติ้งของอินดิเคเตอร์แต่ละตัว
คำแนะนำสำหรับเรตติ้งแบบกลุ่มหรือโดยรวมจะอิงตามค่าเรตติ้งที่เป็นตัวเลขนี้ ซึ่งพิจารณาตามเกณฑ์ต่อไปนี้:
[-1.0 ≤ ค่า < -0.5] — ขายมาก
[-0.5 ≤ ค่า < -0.1] — ขาย
[-0.1 ≤ ค่า ≤ 0.1] — เป็นกลาง
[0.1 < ค่า ≤ 0.5] — ซื้อ
[0.5 < ค่า ≤ 1.0] — ซื้อมาก
พื้นฐาน
คำแนะนำที่ได้จากอินดิเคเตอร์แต่ละตัวนั้นอิงตามเรตติ้งที่คำนวณสำหรับอินดิเคเตอร์ย่อยซึ่งรวมอยู่ในอินดิเคเตอร์นั้นๆ
เรตติ้งโดยรวมของอินดิเคเตอร์ประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ของอินดิเคเตอร์ย่อยจำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มแรกประกอบด้วย SMA และ EMA ที่มีความยาวต่างกัน (ความยาว MA คือ 10, 20, 30, 50, 100 และ 200), Ichimoku Cloud (9, 26, 52), VWMA (20) และ Hull MA (9) กลุ่มที่ 2 คำนวณจาก Oscillator ดังนี้ RSI (14), Stochastic (14, 3, 3), CCI (20), ADX (14, 14), AO, Momentum (10), MACD (12, 26, 9), Stochastic RSI (3, 3, 14, 14), Williams %R (14), Bulls and Bears Power และ UO (7,14,28) เรตติ้งของแต่ละกลุ่มจะคำนวณแยกกัน คุณสามารถเลือกกลุ่มได้ในการตั้งค่าอินดิเคเตอร์ แล้วระบบจะแสดงการคำนวณเรตติ้งที่เกี่ยวข้องให้บนกราฟ
สิ่งที่มองหา
เครื่องมือเรตติ้งทางเทคนิคออกแบบมาให้มีค่าที่ผันผวนอยู่เหนือและใต้เส้นศูนย์ โดยจะมีการพล็อตค่าเป็นฮิสโตแกรมแท่งสีแดง เขียว และเทา และขึ้นอยู่กับการเลือกของคุณ คุณสามารถเลือกดูค่าของเรตติ้ง MA, เรตติ้ง Oscillator หรือค่าเฉลี่ยของทั้งคู่ได้
คอลัมน์จะเป็นสีเทาเมื่อค่าของอินดิเคเตอร์อยู่ระหว่าง 0.1 ถึง -0.1 แท่งสีเขียวที่เข้มขึ้นเรื่อยๆ บ่งชี้ถึงค่าที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 0.1 ในขณะที่แท่งสีแดงที่เข้มขึ้นเรื่อยๆ บ่งชี้ถึงค่าที่ลดลงต่ำกว่า -0.1
ป้ายที่ส่วนท้ายของฮิสโตแกรมแสดงสถานะของ MA, Oscillator และเรตติ้งโดยรวม มีการกำหนดสีตามค่าของเรตติ้ง ดังนี้ สีเทาสำหรับ “เป็นกลาง”, สีเขียวสำหรับ “ซื้อ” หรือ “ซื้อมาก” และสีแดงสำหรับ “ขาย” หรือ “ขายมาก”
สรุป
เรตติ้งทางเทคนิคสามารถเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอันมีค่าได้สำหรับนักวิเคราะห์และนักเทรด โดยที่นักเทรดจำนวนมากเลือกใช้อินดิเคเตอร์เสริมประกอบหลายตัวเพื่อให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น เครื่องมือเรตติ้งทางเทคนิคของเราช่วยลดภาระนี้ลงได้โดยการรวบรวมอินดิเคเตอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุดเข้าด้วยกัน รวมถึง Signal (สัญญาณ) ของอินดิเคเตอร์นั้นๆ ด้วย
เกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ทางเทคนิค
Oscillator
Oscillator (ออสซิลเลเตอร์) เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นอินดิเคเตอร์ล่วงหน้า (Leading Indicator) ที่สามารถส่ง Signal (สัญญาณ) ถึงการเปลี่ยนเทรนด์ที่อาจเกิดขึ้นแต่ยังไม่เริ่มต้น อินดิเคเตอร์ประเภทนี้จะแกว่งตัวไปมาระหว่างขีดจำกัด 2 จุดคือเหนือและใต้จุดกึ่งกลาง ค่าที่อ่านได้จะช่วยวัดความแข็งแกร่งและโมเมนตัมของเทรนด์ โดยทั่วไปแล้ว Oscillator จะส่ง Signal (สัญญาณ) ว่าตลาดมีสภาวะ Overbought (มีแรงซื้อมากเกินไป) หรือ Oversold (มีแรงขายมากเกินไป) หมายความว่ามีราคาสูงหรือต่ำอย่างไม่สมเหตุสมผลหรือไม่ ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าอาจเกิดการกลับตัวของเทรนด์ขึ้นได้ ทำให้สามารถนำมาใช้เพื่อกำหนดจังหวะที่จะปิด Position ได้
Oscillator ทำงานได้ดีที่สุดในตลาดที่วิ่งอยู่ในกรอบราคา (Ranging Market) เนื่องจากหากเป็นตลาดที่มีเทรนด์ (Trending Market) อาจแสดงสภาวะ Overbought หรือ Oversold เร็วเกินไปได้ สิ่งทั่วไปที่ต้องมองหาคือการตัดจุดกึ่งกลาง การเข้าใกล้ค่าสูงสุดหรือต่ำสุด และ Divergence ไม่ว่าจะแบบปกติหรือที่ซ่อนอยู่ Oscillator มักพล็อตเป็นเส้นหรือฮิสโตแกรม Oscillator มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น Relative Strength Index, Stochastic Oscillator, True Strength Index และ Ultimate Oscillator
Moving Average
Moving Average (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่) เป็นอินดิเคเตอร์ตามหลัง (Lagging Indicator) หรือเชิงรับ (Reactive) แบบอิงตามราคา ซึ่งจะแสดงราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนด Moving Average เป็นวิธีที่ดีในการวัดโมเมนตัม ยืนยันเทรนด์ และดูระดับแนวรับแนวต้าน โดยพื้นฐานแล้ว Moving Average ช่วยกรอง “สัญญาณรบกวน” ออกไปได้เมื่อพยายามอ่านกราฟ สัญญาณรบกวนที่ว่านี้ประกอบด้วยความผันผวนของทั้งราคาและปริมาณ เนื่องจาก Moving Average เป็นอินดิเคเตอร์ตามหลังซึ่งแสดงค่าหลังจากที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นไปแล้ว จึงไม่ได้ใช้กันเป็นอินดิเคเตอร์คาดการณ์ แต่จะใช้กันเป็นอินดิเคเตอร์ที่สื่อความหมายสำหรับการยืนยันและการวิเคราะห์มากกว่า
อันที่จริง Moving Average เป็นพื้นฐานของเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียงอื่นๆ อีกหลายตัว เช่น Bollinger Band และ MACD มี Moving Average อยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งทั้งหมดมีพื้นฐานเดียวกัน แต่เพิ่มรูปแบบการคำนวณเข้ามา ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ Simple Moving Average (SMA), Exponential Moving Average (EMA), Weighted Moving Average (WMA) และ Hull Moving Average (HMA)
Pivot Point
การวิเคราะห์ Pivot Point (จุดกลับตัว) เป็นเทคนิคในการดูระดับสำคัญที่ราคาอาจตอบสนอง Pivot Point มีแนวโน้มที่จะทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือแนวต้านและสามารถเป็นจุดกลับตัวได้ แม้ว่าแนวคิดนี้จะใช้ได้กับหลากหลายกรอบเวลา แต่ก็มักจะเป็น Day Trader ที่นำเทคนิคนี้มาใช้ ทั้งนี้ เราสามารถระบุจุดที่แน่นอนได้หลายวิธี Pivot Point ทั่วไปประเภทต่างๆ ได้แก่ Traditional, Fibonacci, Woodie, Classic, Camarilla และ DM ซึ่งแต่ละประเภทก็มีวิธีการคำนวณของตัวเอง
ส่วนใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแปลงของราคาที่มีนัยสำคัญ เช่น ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด และราคาเปิดและปิดที่ได้รับการยอมรับ จากนั้นจึงใช้การคำนวณเพื่อหาจุดเหล่านี้ โดยทุกประเภทนั้นคำนวณระดับแนวรับแนวต้านเพิ่มเติมควบคู่ไปกับ Pivot Point ด้วย รวมถึงสามารถใช้เพื่อหาจังหวะเข้าออกในการเทรดหรือดูช่วงของตลาดได้อีกด้วย นักเทรดแบบเสี่ยงต่ำ (Conservative) จะมองหาข้อมูลยืนยันเพิ่มเติมก่อนเข้าสู่การเทรด ไม่ว่าจะใช้ Pivot Point เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ ทั้งหมดนี้ก็ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในกล่องเครื่องมือของนักเทรดสายเทคนิคอล